บทความ

แฟนซีคาร์ฟ

รูปภาพ
       ปลาโค่ย หรือที่เรียกกันว่าปลาคาร์พนั้นเป็นปลาที่เราเห็นจนชินตาในการ์ตูน หรือวรรณกรรมญี่ปุ่น โดยสามารถพบได้ทั่วไปในโลกความเป็นจริงเช่นกันตามบ่อน้ำในบ้านต่างๆ โดยปลาโค่ยนั้นมีความสามารถได้สองทาง ทางหนึ่งแปลว่ารัก หรือใส่ใจดูแล (ใช้คันจิคนละตัว แต่ออกเสียงเหมือนกัน) ส่วนอีกทางก็แปลว่าปลาคาร์พนั่นเองปลาคาร์พนั้นเป็นปลาน้ำจืดที่มีสีสันมาก และพบได้ตามบ่อน้ำคนญี่ปุ่นทั่วไป หรือแม้กระทั่งในบ่อน้ำในวัดก็ยังเลี้ยงเอาไว้เช่นกัน ปลาคาร์พนี้เป็นปลาท้องถิ่นในแถบเอเชีย เป็นปลาที่กินหมดทั้งพืชและสัตว์น้ำเล็กๆ หรือจะโยนแมลง สาหร่าย ไส้เดือน ก็กินเรียบเช่นกัน บางครั้งคนญี่ปุ่นก็เลี้ยงปลาคาร์พเอาไว้ในอควาเรียมส่วนตัวเช่นกัน โดยเข้าใจว่าปลาคาร์พเป็นปลาทอง เนื่องจากมีสีสันที่ค่อนข้างสดใส แต่จริงๆ แล้วปลาทั้งสองชนิดเป็นปลาที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ปลาทองนั้นมักจะมีสีเหลืองทองอยู่ ในขณะที่ปลาคาร์พอาจจะมีสีที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาและสภาพภูมิอากาศ แม้ว่าปลาทั้งสองจะอยู่ในกลุ่มแฟมิลี่สายพันธ์ Common Carp ก็ตามที โดยปลาทองจะมีลักษณะที่มีสีเดียวตลอดตัว ขณะที่ปลาคาร์พมักจะมีสีสันที่หลากหลายปลาทองนั้นถูกเพ

ลักษณะทั่วไปปลาคราฟ/ปลาคาร์ฟ

รูปภาพ
    ปลาคราฟ มีลักษณะลำตัวแบน และค่อนข้างกลม หัวไม่มีเกร็ด ริมฝีปากบางเรียบ ภายในปากไม่มีฟัน แต่จะมีฟันที่ลำคอ 1-3 แถว แต่ละแถวมีฟันไม่เกิน 8 ซี่ ลำตัวมีครีบหลัง ครีบหู ครีบท้อง และครีบหาง บางชนิดไม่มีเกล็ด บางชนิดมีเกล็ด บางชนิดมีเกล็ดขนาดใหญ่ในบางส่วน เช่น ปลาคราฟญี่ปุ่นมีเกล็ดทั้งลำตัว ส่วนปลาคราฟเยอรมันมีเกล็ดขนาดใหญ่เฉพาะแถบบนเส้นข้างลำตัวปลาคราฟ เป็นปลาที่ไม่จัดอยู่กลุ่มปลากินพืชหรือปลากินเนื้อ เพราะโดยธรรมชาติจะกินพืชหรือสาหร่ายที่มีตัวอ่อนสัตว์น้ำเข้าไปด้วย รวมถึงสามารถกินได้ทั้งแพลงตอนพืช และสัตว์ และหอยได้ด้วย อ้างอิง–    http://pasusat.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9F/

ลักษณะปลาคราฟ/ปลาคาร์ฟ ที่ดี

รูปภาพ
      ปลาคราฟที่ดี และเป็นที่ต้องการของตลาดจะต้องมีลักษณะของหัวที่สมบูรณ์ ลำตัวไม่สั้นเกินไป ลำตัวต้องกลมเป็นรูปกระสวย ลักษณะครีบสวยงาม ไม่มีส่วนฉีกขาด ส่วนหางใหญ่ และแข็งแรง มีท่วงท่าการว่ายน้ำสวยงาม และที่สำคัญอีกประการ คือ จะต้องมีสีสันเข้ม สวยงาม มีความคมชัด สดใส และมีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ หายาก ทั้งนี้ ปลาคราฟที่มีร่างกายไม่สมบูรณ์หรือเป็นโรคจะมีลักษณะเชื่องซึม มีสีซีดจาง ปลาประเภทนี้ไม่ควรนำมาเลี้ยง และควรกำจัดออกจากบ่อทันที อ้างอิง–    http://pasusat.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9F/

สีของปลาคราฟ/ปลาคาร์ฟ

รูปภาพ
       สีของปลาคราฟ เป็นสารสีที่มาจากสารแคโรทีนอยด์ ซึ่งปลาคาร์ฟไม่สามารถสังเคราะห์สารเหล่านี้ได้เอง แต่สารแคโรทีนอยด์ที่ทำให้เกิดสีในตัวปลาคราฟจะมาจากอาหารที่ได้รับในแต่ละวัน ซึ่งสีจากสารแคโรทีนอยด์จะให้สีเหลือง ส้ม และแดง โดยสีแดงในปลาคราฟเกิดจากสารแคโรทีนอยด์ชนิด astaxanthin ซึ่งปลาคราฟสามารถสะสม และเปลี่ยนสารสีเหล่านี้ให้อยู่ในร่างกายได้   อ้างอิง –    http://pasusat.com/%E 0% B 8%9 B%E 0% B 8% A 5% E 0% B 8% B 2% E 0% B 8%84% E 0% B 8% A 3% E 0% B 8% B 2% E 0% B 8%9 F/

การเลี้ยงปลาคราฟ/ปลาคาร์ฟ

รูปภาพ
   การเลี้ยงปลาคราฟที่พบเห็นนิยมมากในปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ 1. การเลี้ยงในตู้ปลา การเลี้ยงปลาคราฟในตู้ปลามักไม่นิยมนัก เพราะปลาคราฟเป็นปลาสวยงามขนาดใหญ่ และชอบว่ายน้ำคุ้ยเขี่ยหาอาหารเก่ง แต่หากเลี้ยง ควรเลี้ยงไม่เกิน 2 ตัว และเพิ่มจำนวนตามขนาดของตู้ปลา ส่วนน้ำที่ใช้เลี้ยง อาจเป็นน้ำประปาหรือน้ำฝนก็ได้ แต่หากเป็นน้ำฝนในชุมชนเมืองควรหลีกเลี่ยง เพราะน้ำฝนมักเป็นกรดมากสำหรับตู้ปลาควรมีเครื่องเติมอากาศตลอดเวลา รวมถึงเครื่องกรองน้ำด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ตู้ปลาอาจตกแต่งด้วยกรวดหิน และสาหร่ายขนาดเล็ก แต่ไม่ควรเป็นสาหร่ายขนาดใหญ่ เพราะมักเสียหายจาการว่ายหรือการกัดกินของปลาคราฟได้ง่าย 2. การเลี้ยงในบ่อจัดสวน การเลี้ยงในบ่อจัดสวน หรือ บ่อดาดคอนกรีต ถือเป็นรูปแบบการเลี้ยงปลาคราฟที่นิยมมาก เพราะสามารถปล่อยปลาคราฟได้จำนวนมาก ปลาคราฟมีพื้นที่ว่ายน้ำได้กว้าง ไม่ต้องใช้เครื่องเติมอากาศ และสามารถรองรับขนาดปลาคราฟที่เติบโตจนมีขนาดใหญ่ในอนาคตได้บ่อเลี้ยงปลาคราฟอาจเป็นขอบดิ่งหรือขอบลาดเอียง ขนาดบ่อควรลึกในช่วง 40-70 เซนติเมตร เพราะตื้นมากจะทำให้น้ำร้อนจากแดดส่อง หากลึกมากจะทำให้มอง

การให้อาหาร

รูปภาพ
        อาหารปลาคราฟรุ่นที่เลี้ยงตามบ่อหรือตู้ปลา ปัจจุบัน นิยมใช้อาหารสำเร็จรูปประเภทลอยน้ำ ซึ่งใช้ได้ทั้งอาหารปลากินเนื้อ และปลากินพืช แต่ทั้งนี้ ควรเป็นอาหารสำหรับปลาคราฟโดยเฉพาะยิ่งดี เพราะปลาคราฟเป็นปลาที่ไม่จัดอยู่ในกลุ่มปลากินพืชหรือกินเนื้อ ดังนั้น จึงควรเป็นอาหารผสมระหว่างอาหารปลากินพืชกับอาหารปลากินเนื้อ นอกจากนั้น อาจให้อาหารอื่นเสริม ได้แก่ รำข้าว ขนมปัง เศษผัก ปลวกหรือแมลงต่างๆ สำหรับความถี่การให้อาหาร ควรให้ 1-2 ครั้ง/วัน ในช่วงเช้าหรือเย็น อ้างอิง - – http://pasusat.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9F/

1.โคฮากุ (Kohoku)

รูปภาพ
           โคฮากุ ( Kohaku) มีประโยคอมตะของวงการปลาคาร์พกล่าวไว้ว่า “ Keeping Nishikigoi begin with kohahu and end with kohaku” ประโยคดังกล่าวสามารถยืนยัน ความงามอันเป็นอมตะของปลาสายพันธุ์นี้ได้ดีที่สุด จึงไม่แปลกที่ปลาสายพันธุ์นี้จะมีชื่อเรียกเฉพาะลักษณะของลวดลายบนตัวปลา ( Patterns) ตลอดจนมีหลักเกณฑ์ในการตัดสิน ความสวยงามของปลาแต่ละตัวมากที่สุด นอกไปจากนี้หลักเกณฑ์ดังกล่าวยังสามารถใช้ขยายผลไปเป็นพื้นฐานในการพิจารณาความสวยงามของปลาสายพันธุ์อื่นได้อีกด้วย อ้างอิง - http://www.thaikoicenter.com/article/ 44- koi-topics/ 75-- kohaku.html