การเลี้ยงปลาคราฟ/ปลาคาร์ฟ



   การเลี้ยงปลาคราฟที่พบเห็นนิยมมากในปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. การเลี้ยงในตู้ปลา
การเลี้ยงปลาคราฟในตู้ปลามักไม่นิยมนัก เพราะปลาคราฟเป็นปลาสวยงามขนาดใหญ่ และชอบว่ายน้ำคุ้ยเขี่ยหาอาหารเก่ง แต่หากเลี้ยง ควรเลี้ยงไม่เกิน 2 ตัว และเพิ่มจำนวนตามขนาดของตู้ปลา ส่วนน้ำที่ใช้เลี้ยง อาจเป็นน้ำประปาหรือน้ำฝนก็ได้ แต่หากเป็นน้ำฝนในชุมชนเมืองควรหลีกเลี่ยง เพราะน้ำฝนมักเป็นกรดมากสำหรับตู้ปลาควรมีเครื่องเติมอากาศตลอดเวลา รวมถึงเครื่องกรองน้ำด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ตู้ปลาอาจตกแต่งด้วยกรวดหิน และสาหร่ายขนาดเล็ก แต่ไม่ควรเป็นสาหร่ายขนาดใหญ่ เพราะมักเสียหายจาการว่ายหรือการกัดกินของปลาคราฟได้ง่าย

2. การเลี้ยงในบ่อจัดสวน
การเลี้ยงในบ่อจัดสวน หรือ บ่อดาดคอนกรีต ถือเป็นรูปแบบการเลี้ยงปลาคราฟที่นิยมมาก เพราะสามารถปล่อยปลาคราฟได้จำนวนมาก ปลาคราฟมีพื้นที่ว่ายน้ำได้กว้าง ไม่ต้องใช้เครื่องเติมอากาศ และสามารถรองรับขนาดปลาคราฟที่เติบโตจนมีขนาดใหญ่ในอนาคตได้บ่อเลี้ยงปลาคราฟอาจเป็นขอบดิ่งหรือขอบลาดเอียง ขนาดบ่อควรลึกในช่วง 40-70 เซนติเมตร เพราะตื้นมากจะทำให้น้ำร้อนจากแดดส่อง หากลึกมากจะทำให้มองไม่เห็นตัวปลา และน้ำด้านล่างเย็น โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว แต่อาจทำบางจุดให้ลึกได้ โดยเฉพาะจุดรวมน้ำเพื่อทำการเปลี่ยนน้ำหรือถ่ายเทน้ำ นอกจากนั้น พื้นบ่อปลาหรือขอบบ่อปลาควรเติมกรวดทรายลงเล็กน้อย เพื่อให้ปลาคราฟคุ้ยเขี่ยอาหารตามสภาพธรรมชาติ ทั้งนี้ จะต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกๆ 1 เดือน หรือ 2 เดือน/ครั้งการตกแต่งบ่อเลี้ยง ควรใช้หินกองเป็นถ้ำเพื่อให้มีร่มเงาในน้ำ หรืออาจปลูกไม้น้ำในกระถางลงในบ่อก็ได้ แต่ไม่ควรมีต้นไม้ใหญ่คลุมบ่อข้างบ่อ เพราะจะมีใบไม้ร่วงลงบ่อทำให้คุณภาพน้ำแย่ลงได้ รวมถึงระบบน้ำพรุ ระบบหมุนเวียนน้ำ หรือระบบกรองน้ำร่วมด้วยยิ่งดี นอกจากนั้น อาจออกแบบบ่อให้มีทางข้ามเพื่อเดินชม และเป็นที่บังแดดให้แก่ปลาได้ทั้งนี้ ปลาคราฟรุ่นที่ใช้เลี้ยงควรมีอายุตั้งแต่ 6-8 เดือน ขึ้นไป หรือขนาดลำตัวยาวมากกว่า 15 เซนติเมตร ขึ้นไป
อ้างอิง -


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

7. โอกอน (Ogon)

3. โชวา ซันโชกุ (Showa Sanshoku)

2. ไทโช ซันเก้ (Taisho Sanke)